C (ชุดที่ 1) - CREATINE KINASE (CK)
เป็นเอนไซม์ที่พบเป็นส่วนใหญ่ในกล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อหัวใจและสมอง สำหรับผู้ที่ไม่รู้เคมีเอนไซม์เป็นสารที่อยู่ในเซลล์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสารอื่นโดยตัวมันเองไม่เปลี่ยน ทั้งกล้ามเนื้อลาย หัวใจและสมองเป็นอวัยวะที่ต้องใช้พลังงาน adenosine triphosphate หรือ ATP อย่างรวดเร็วโดยพึ่ง ATP ที่สังเคราะห์จากการย้ายหมู่ phosphate จาก Creatine phosphate ไปยัง adenosine diphosphate หรือ ADP โดยปฏิกิริยาที่เร่งโดยเอนไซม์ CK จะหวังพึ่ง ATP
ที่ได้จากการเติมออกซิเจน (oxidation) เข้าอาหารโดยผ่านปฏิกิริยาหลายขั้นตอนซึ่งเป็นกระบวนการที่ช้าคงไม่ทันการ
ที่ได้จากการเติมออกซิเจน (oxidation) เข้าอาหารโดยผ่านปฏิกิริยาหลายขั้นตอนซึ่งเป็นกระบวนการที่ช้าคงไม่ทันการ
CK ในกล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อหัวใจและสมองมีลักษณะต่างกันแต่มีคุณสมบัติและหน้าที่เหมือนกันจึงเรียก
ไอโซเอนไซม์ (isoenzyme) CK ทุกตัวประกอบด้วย polypeptide 2 เส้น ในกล้ามเนื้อลายโซ่ทั้งสองคล้ายคลึงกันเรียกว่า โซ่เอ็ม (M) CK เอนไซม์ในกล้ามเนื้อลายจึงเรียก MM ในสมองเรียก BB ส่วนในกล้ามเนื้อหัวใจเรียก MB (โซ่หนึ่งเส้น
เป็น M อีกเส้นเป็น B)
ไอโซเอนไซม์ (isoenzyme) CK ทุกตัวประกอบด้วย polypeptide 2 เส้น ในกล้ามเนื้อลายโซ่ทั้งสองคล้ายคลึงกันเรียกว่า โซ่เอ็ม (M) CK เอนไซม์ในกล้ามเนื้อลายจึงเรียก MM ในสมองเรียก BB ส่วนในกล้ามเนื้อหัวใจเรียก MB (โซ่หนึ่งเส้น
เป็น M อีกเส้นเป็น B)
ซีรั่มคนปกติจะมี CK-MM เล็กน้อยแต่ไม่มี CK-BB หรือ CK-MB เลย ระดับ CK ในกล้ามเนื้อลายสูงกว่าในกล้ามเนื้อหัวใจ 10 เท่า ในภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อบางส่วนเสีย ระดับ CKMB ในซีรั่มจะสูงขึ้นภายใน 4 ชั่วโมง สูงสุดในเวลาอันสั้น และกลับสู่ระดับปกติภายใน 72 ชั่วโมง
การตรวจหาระดับ CK ในซีรั่มที่มาจากกล้ามเนื้อลายเป็นประโยชน์มากในการวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อชนิดต่างๆ เช่น
โรคกล้ามเนื้อจากพันธุกรรม (Muscular Dystrophy) และโรคกล้ามเนื้ออักเสบ (Polymyositis) กล้ามเนื้อผิดปกติ (myopathy) จากสาเหตุต่างๆ เช่นจากยา อาทิ statin จากโรคพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ จากโรคบาดทะยัก แม้กระทั่งโรคที่พบยาก เช่น neuroacanthocytosis และ Macleod syndrome
โรคกล้ามเนื้อจากพันธุกรรม (Muscular Dystrophy) และโรคกล้ามเนื้ออักเสบ (Polymyositis) กล้ามเนื้อผิดปกติ (myopathy) จากสาเหตุต่างๆ เช่นจากยา อาทิ statin จากโรคพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ จากโรคบาดทะยัก แม้กระทั่งโรคที่พบยาก เช่น neuroacanthocytosis และ Macleod syndrome
ในคนปกติหลังออกเล่นกีฬาที่ต้องออกแรงหนัก เช่น ตีกรรเชียงเรือ หรือเล่นรักบี้ ระดับ CK ในเลือดสูงขึ้นได้บ้าง
ถ้ากล้ามเนื้อลายบาดเจ็บแม้กระทั่งจากการฉีดยาเข้ากล้าม CK ก็สูงผิดปกติได้แต่ไม่สูงเหมือนในภาวะ rhabdomyolysis หรือในภาวะที่เรียก malignant hyperthermia
ถ้ากล้ามเนื้อลายบาดเจ็บแม้กระทั่งจากการฉีดยาเข้ากล้าม CK ก็สูงผิดปกติได้แต่ไม่สูงเหมือนในภาวะ rhabdomyolysis หรือในภาวะที่เรียก malignant hyperthermia
แนะนำเอกสาร
1. Percy ME, Thompson MW. Creatine kinase - no phospho please. Muscle Nerve 1981; 4: 271-73.
2. Walker RH, Peters JJ, Jung HH, Danek A. Diagnostic evaluation of clinically normal subjects with
chronic hyperCKemia. Neurology 2007; 68: 535-36.
chronic hyperCKemia. Neurology 2007; 68: 535-36.
3. Vejjajiva A, Teasdale GM. Serum creatine kinase and physical exercise. Br Med J 1965; 1: 1653-54.
[ back ]