การตรวจร่างกายทางระบบประสาท
การตรวจร่างกายทางระบบประสาท
โดย อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์และประสาทวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นยิ่งต่อแพทย์ทางเวชกรรม
แต่การวินิจฉัยผู้ป่วยด้วยโรคทางระบบประสาทต้องอาศัยทักษะในการซักประวัติและการตรวจร่างกายที่ถูกต้องและเหมาะสมซึ่งแพทย์จะต้องได้รับการฝึกอบรมมาอย่างถูกวิธี ก่อนที่อาจจะจำเป็นต้องพิจารณาทำการตรวจพิเศษอย่างอื่นเพื่อช่วยยืนยันหรือช่วยในการเลือกให้การรักษาผู้ป่วยได้ถูกต้องต่อไป
โรคระบบประสาทที่พบได้บ่อยเป็นจำนวนมากสามารถให้การวินิจฉัยได้ถูกต้องจากการซักประวัติที่ดี เช่น โรคไมเกรนและโรคปวดศีรษะอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นปวดศีรษะแบบตึงตัว (Tension Headache) หรือ ปวดศีรษะแบบกลุ่ม (Cluster Headache) ในขณะที่ถ้าแพทย์ไม่แน่ใจว่าการวินิจฉัยโรคดังกล่าวถูกต้องและส่งผู้ป่วยไปทำการตรวจพิเศษ เช่น ทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือเอ็มอาร์ไอ (MRI) ก็จะไม่ได้คำตอบ
การตรวจร่างกายทางระบบประสาทอย่างถี่ถ้วนและสมบูรณ์แบบเป็นเรื่องที่นักศึกษาแพทย์และแพทย์ทั่วไปมักจะกลัวเพราะเห็นว่ายากและไม่แน่ใจ ในสภาพความเป็นจริงแล้วผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องได้รับการตรวจเช่นนั้น แต่อายุรแพทย์ที่จะเป็นแพทย์เฉพาะทางทางประสาทวิทยาจะต้องได้รับการฝึกอบรมทักษะการตรวจนั้นอย่างสมบูรณ์เพื่อนำไปใช้ตรวจในกรณีผู้ป่วยที่ประวัติอาการหรืออาการแสดงบ่งชี้ถึงความจำเป็น เช่น กรณีสงสัยว่าผู้ป่วยมีเนื้องอกกดประสาทไขสันหลังก็ตรวจประสาทรับความรู้สึกเจ็บที่ขาและลำตัว ในขณะที่สงสัยว่าผู้ป่วยมีสมองเสื่อมก็คงจะไม่เสียเวลากับการตรวจที่กล่าว
ในบทนี้กล่าวถึงการตรวจร่างกายทางระบบประสาทอย่างย่อไว้ในตารางที่ 1 ซึ่งแพทย์ทั่วไปหรืออายุรแพทย์และประสาทแพทย์สามารถนำไปใช้เบื้องต้นเพื่อคัดกรองผู้ป่วยก่อนตัดสินใจตรวจเพิ่มเติมอย่างละเอียดในบางส่วนต่อไป
สภาพทางสมองและจิตใจ (Mental State)
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหรือแพทย์สงสัยว่าสมองผิดปกติทางความนึกคิด ความจำหรือการพูด ให้แพทย์ใช้การทดสอบอย่างง่าย เช่น Minimental State Examination (MMSE) ตามตารางที่ 2 ส่วนผู้ป่วยที่ไม่มีอาการดังกล่าวก็เว้น
การตรวจเรื่องนี้
การตรวจเรื่องนี้
ตารางที่ 1 การตรวจทางระบบประสาทโดยย่อ
1. ลักษณะทั่วไป
การเดิน
ใบหน้า
การพูด ภาษา ประชาน (cognition)
2. ศีรษะและคอ
ดูจอประสาทตา
ม่านตาดำ (pupil)
การกลอกตา
ใบหน้าเบี้ยวหรือไม่ ?
ลิ้น
คอแข็งหรือไม่ ?
3. แขนและขา
ยกแขนขึ้น มีสั่นหรือไม่ ?
กล้ามเนื้อลีบ มี fasciculation หรือไม่ ?
Tone
Power
Coordination : Finger to Nose, Heel to Shin
Deep Tendon Reflexes
Plantar Responses
Sensation เพียงถามว่ารู้สึกปกติหรือไม่ ?
ตารางที่ 2 MiniMental State Examination
Orientation
วัน เดือน ปี 5 คะแนน
ที่อยู่ 5 คะแนน
Registration
บอก 3 ชื่อ*
ให้บอกซ้ำ
ซ้ำจนบอกจำทั้ง 3 ชื่อ ใช้กี่ครั้งบันทึกไว้ 3 คะแนน
Attention & Calculation
100-7 = …….. ให้ 1 คะแนนทุกคำตอบที่ถูก 5 คะแนน
หยุดหลังได้ 5 คำตอบ
Recall
ถามชื่อทั้งสามที่บอก* 3 คะแนน
Language
บอกชื่อวัตถุ (ปากกา, นาฬิกา) 2 คะแนน
พูดซ้ำ : ไม่ ถ้า และ หรือ แต่ 1 คะแนน
สั่งให้ทำ 3 ขั้นตอน 3 คะแนน
อ่านและทำตาม : หลับตา 1 คะแนน
เขียน 1 ประโยค 1 คะแนน
เขียนลอกรูปที่มีแบบให้ดู 1 คะแนน
Total Score (จากคะแนนเต็ม 30)
Cranial nerves
i : การได้กลิ่น (Olfaction)
ใช้สิ่งมีกลิ่นที่หาง่ายและเป็นที่รู้จักทั่วไป เช่น กาแฟและสบู่ ปัจจุบันมีชุดทดสอบการได้กลิ่นสำหรับแพทย์ใช้ตรวจ
ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันและโรคสมองเสื่อมเช่นโรคอัลซ์ไฮเมอร์
ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันและโรคสมองเสื่อมเช่นโรคอัลซ์ไฮเมอร์
แนะนำให้เลี่ยงใช้น้ำหอมหรือแอมโมเนียที่มีไอระเหยมาก
ii : การมองเห็น (Vision)
มี 4 ส่วนที่จะต้องตรวจ คือ
1. visual acuity โดยใช้ Snellen chart ที่พกพาไปไหนได้ เป็นการเพียงพอ
2. visual field โดยวิธี แพทย์และผู้ป่วยนั่งหันหน้าหากันห่างประมาณหนึ่งเมตร และแพทย์ใช้นิ้วมือขยับสำหรับตรวจ peripheral visual field วิธีนี้ใช้ประโยชน์ในการตรวจพบ hemianopia และ attention defects ส่วนการตรวจ central visual field โดยใช้หัวเข็มหมุดสีขาวและ/หรือสีแดง พอจะตรวจหา central scotoma และ blind spot enlargement ได้
3. ม่านตาดำโดยใช้ไฟฉาย
และ 4. optic fundi โดย ophthalmoscope ซึ่งแพทย์ควรตรวจ retina และหลอดเลือดทั้งแดงและ ดำด้วย
iii, iv, vi : การกลอกตา
ประสาททั้ง 3 คู่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อตาเพื่อให้ตาทั้ง 2 ข้างประสานไปในทิศทางเดียวกัน ทิศ คือ
มองขึ้น-ลง เข้า-ออก ลงออก-ขึ้นเข้า และขึ้นออก-ลงเข้า โดยแนะนำให้จำสูตรคล้ายสูตรเคมีง่ายๆ คือ LR6 (S04)3
มองขึ้น-ลง เข้า-ออก ลงออก-ขึ้นเข้า และขึ้นออก-ลงเข้า โดยแนะนำให้จำสูตรคล้ายสูตรเคมีง่ายๆ คือ LR6 (S04)3
LR6 หมายถึง กล้ามเนื้อตาที่ดึงตาออกหรือ Lateral Rectus ควบคุมโดย cranial nerve vi หรือ abducens nerve
S04 หมายถึง กล้ามเนื้อ Superior Oblique ที่ดึงตามองลงและมองเข้า ควบคุมโดย cranial nerve iv หรือ trochlear nerve
เลข 3 กล้ามเนื้อตาอื่นๆ ที่เหลือ คือ medial rectus, superior และ inferior recti รวมทั้ง inferior oblique ควบคุมโดย cranial nerve iii หรือ oculomotor nerve
ข้อที่ควรสังวร :
1) เมื่อพบกล้ามเนื้อตาไม่ทำงานเป็นปกติ อย่าลืมพิจารณาด้วยเสมอว่าเป็นจากโรคกล้ามเนื้อ เช่น myasthenia
หรือไม่
หรือไม่
2) ในทำนองเดียวกัน หนังตาบนหย่อนลงหรือตก (ptosis) อาจเป็นจากโรคกล้ามเนื้อได้ หรือเป็นจากรอยโรคที่ cranial nerve iii ซึ่งม่านตาดำมักจะขยายหรือโตกว่าปกติ ในขณะที่ ptosis และม่านตาดำเล็กกว่าปกติเกิดจากอัมพาตของประสาท sympathetic หรือ Horner's syndrome
3) การที่ตาทั้งสองกลอกไม่ประสานกันอาจเป็นจากประสาทที่ควบคุม nuclei ของประสาทใน ก้านสมองผิดปกติ
เช่น internuclear ophthalmoplegia
เช่น internuclear ophthalmoplegia
4) ถ้ามีตากระตุกหรือ nystagmus ควรบันทึกไว้ในการตรวจนี้ด้วย เช่น ถ้ามี nystagmus เวลามองขึ้นหมายถึงมี
รอยโรคที่ก้านสมอง หรือถ้ามี ataxic nystagmus คือ เวลามองไปข้างหนึ่งข้างใด ตาที่มองเข้ามองได้ไม่สุดในขณะที่
ตาข้างที่มองออกมี nystagmus บ่งถึงรอยโรคที่ medial longitudinal fasciculus หรือ MLF เป็นต้น
รอยโรคที่ก้านสมอง หรือถ้ามี ataxic nystagmus คือ เวลามองไปข้างหนึ่งข้างใด ตาที่มองเข้ามองได้ไม่สุดในขณะที่
ตาข้างที่มองออกมี nystagmus บ่งถึงรอยโรคที่ medial longitudinal fasciculus หรือ MLF เป็นต้น
5) การตรวจพบกล้ามเนื้อตาที่ดึงตาออก (lateral rectus) เข้า (medial) ในแนวราบหรือกล้ามเนื้อที่ดึงตามองขึ้น (superior rectus) และลง (inferior rectus) ในแนวดิ่งตั้งฉาก บอกได้ไม่ยากแต่หากถ้าให้มองขึ้นและมองเข้า (inferior oblique) หรือมองลงพร้อมมองเข้า (superior oblique) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเห็นภาพซ้อน แพทย์อาจจะมีความลังเลได้ โดยทั่วไปหากมีรอยโรคที่ cranial nerve ที่ 4 ผู้ป่วยจะมีอาการเห็นภาพเป็นสองชัดเจนเวลาเดินลงบันได
v : ความรู้สึกที่ใบหน้าและกล้ามเนื้อขบเคี้ยว
ประสาทคู่นี้เป็นประสาทส่วนหัวที่ใหญ่ที่สุด รับผิดชอบความรู้สึกที่หน้าและศีรษะส่วนหน้า เยื่อบุโพรงจมูก
ช่องปาก เหงือก ฟัน เส้นเลือดในกระโหลกศีรษะและเยื่อบุฐานกระโหลกส่วนหน้าและส่วนกลาง อีกทั้งควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อขบเคี้ยวด้วย การตรวจประสาทรับความรู้สึกที่จำเป็นเพราะส่วนที่รับรู้ไวที่สุดก็คือ แก้วตา ซึ่งทดสอบด้วยการทำ corneal reflex โดยใช้สำลีที่ดึงเป็นเส้นยาว จับอยู่โดยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของแพทย์ผู้ตรวจ ใช้มือด้านนิ้วก้อยวางทาบที่โหนกแก้มและค่อยๆ ใช้สำลีเข้าตรวจจากด้านนอกและด้านล่างของตา ความรู้สึกของแก้วตาส่วนบน 300 องศา
มาจากประสาทแขนง ที่หนึ่ง (v1) ส่วนระหว่าง 5 ถึง 7 นาฬิกา (60 องศา) มาจากแขนงที่สอง (v2)
ช่องปาก เหงือก ฟัน เส้นเลือดในกระโหลกศีรษะและเยื่อบุฐานกระโหลกส่วนหน้าและส่วนกลาง อีกทั้งควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อขบเคี้ยวด้วย การตรวจประสาทรับความรู้สึกที่จำเป็นเพราะส่วนที่รับรู้ไวที่สุดก็คือ แก้วตา ซึ่งทดสอบด้วยการทำ corneal reflex โดยใช้สำลีที่ดึงเป็นเส้นยาว จับอยู่โดยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของแพทย์ผู้ตรวจ ใช้มือด้านนิ้วก้อยวางทาบที่โหนกแก้มและค่อยๆ ใช้สำลีเข้าตรวจจากด้านนอกและด้านล่างของตา ความรู้สึกของแก้วตาส่วนบน 300 องศา
มาจากประสาทแขนง ที่หนึ่ง (v1) ส่วนระหว่าง 5 ถึง 7 นาฬิกา (60 องศา) มาจากแขนงที่สอง (v2)
ให้สังเกตว่ากล้ามเนื้อขบเคี้ยวคือ temporal และ masseter มีขนาดปกติหรือไม่โดยให้ผู้ป่วยกัดฟันและเกร็งกล้ามเนื้อในขณะที่กล้ามเนื้อ pterygoid ถ้าอ่อนแรงข้างเดียวเมื่อให้ผู้ป่วยอ้าปาก กรามจะเอียงไปข้างนั้น
vii : ประสาทกล้ามเนื้อหน้า
รอยโรคที่เซลล์ประสาทหรือเส้นประสาทส่วนปลายทำให้หน้าทั้งซีกนั้นอ่อนแรงหรือเป็นอัมพาต (lower motor neurone) ในขณะที่รอยโรคที่เกิดที่ upper motor neurone ทำให้หน้าซีกล่างเท่านั้นที่ทำงานเสียไปแต่ผู้ป่วยยังหลับตาและเลิกคิ้ว ย่นหน้าผากได้ ดังนั้นเมื่อตรวจประสาทคู่นี้จึงแนะนำให้ผู้ป่วยเลิกคิ้วและหลับตาก่อนเพื่อสะดวกและรวดเร็วขึ้น
viii : ประสาทหู
มี 2 ส่วน ได้แก่ ประสาทรับรู้การได้ยิน (auditory nerve) และประสาท vestibular
ในกรณีที่สงสัยว่าผู้ป่วยหูตึงหรือหนวกใช้วิธีตรวจหูทีละข้างโดยการกระซิบห่างเป็นระยะหนึ่ง สองหรือสามฟุต ในขณะที่เอานิ้วมืออุดหูข้างที่ไม่ตรวจ เสียงกระซิบเป็นเสียงต่ำ เช่น คำ "หกสิบหก" และเสียงสูง เช่น "เก้าสิบเก้า" เป็นคำที่ใช้ได้ผลดี
ส่วนของประสาท vestibular ซึ่งเกี่ยวกับการทรงตัวจะกล่าวถึงเมื่อตรวจแขนและขา ส่วนตากระตุกที่เป็นสัญญาณโรคอีกอย่างหนึ่งได้กล่าวถึงรวมไว้ในการตรวจการกลอกตาแล้ว
ix และ x : ประสาท glossopharyngeal และประสาท vagus
ประสาททั้ง 2 เส้นควบคุมการรับความรู้สึก การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลายและ autonomic โดยประสาทเส้นที่เก้าควบคุมการรับความรู้สึกของลิ้นส่วนหลังหนึ่งในสาม pharynx และของหูส่วนกลางควบคุมกล้ามเนื้อ stylopharyngeus และต่อมน้ำลาย parotid ในขณะที่ประสาทเส้นที่สิบควบคุมการรับความรู้สึก tympanic membrane, รูหูส่วนนอกและใบหูส่วนนอกควบคุมกล้ามเนื้อของ palate pharynx และ larynx (ผ่าน recurrent laryngeal nerve) ควบคุม carotid baroceptors และเป็นประสาท parasympathetic สำหรับอวัยวะในทรวงอกและช่องท้อง
การตรวจให้ผู้ป่วยอ้าปากและสังเกตตำแหน่งของลิ้นไก่ว่าอยู่ตรงกลางหรือไม่ ให้ผู้ป่วยร้อง "อา" ดังๆ และสังเกตที่
ลิ้นไก่ถ้ากล้ามเนื้อ palate ข้างหนึ่งเป็นอัมพาตเพราะประสาท vagus เสียลิ้นไก่จะขยับขึ้นไปด้านตรงข้าม
ลิ้นไก่ถ้ากล้ามเนื้อ palate ข้างหนึ่งเป็นอัมพาตเพราะประสาท vagus เสียลิ้นไก่จะขยับขึ้นไปด้านตรงข้าม
ส่วนถ้าประสาทรับความรู้สึกเสียใช้ไม้พันสำลีแตะที่ผนัง pharynx ด้านหลังทีละข้างจะไม่มี gag reflex เมื่อแตะข้าง
ที่เสีย
ที่เสีย
xii : ประสาท hypoglossal
ขณะที่ตรวจในช่องปากโดยให้ผู้ป่วยอ้าปากให้สังเกตดูลิ้นว่าแฟบและมี fasciculation หรือไม่ ถ้าแฟบซีกเดียวเวลา
ผู้ป่วยแลบลิ้นๆ จะเบี้ยวไปข้างที่แฟบที่มีรอยโรค
ผู้ป่วยแลบลิ้นๆ จะเบี้ยวไปข้างที่แฟบที่มีรอยโรค
xi : ประสาท accessory
เป็นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อคอและบ่า (sternocleidomastoid และ trapezius) โดยมีเซลล์ประสาทอยู่ที่ medulla และประสาทไขสันหลังที่ต้นคอ C2 ถึง C4 ตรวจกล้ามเนื้อแรงโดยให้ผู้ป่วยก้มหน้าต้านแรงมือผู้ตรวจที่ต้านหน้าผากผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยหันศีรษะไปซ้ายและขวา ส่วนตรวจกล้ามเนื้อ trapezius โดยให้ผู้ป่วยยักไหล่
แขนขาและลำตัว
ให้สังเกตว่าขณะนอนอยู่เฉยๆ มีการเคลื่อนไหวผิดปกติที่แขนหรือขา มีกล้ามเนื้อส่วนใดลีบและมีกล้ามเนื้อเต้น (fasciculation) หรือไม่
ความตึงของกล้ามเนื้อ (Muscle Tone)
ตรวจโดยเหยียดและงอปลายแขนที่ข้อศอก คว่ำและหงายปลายแขนหรือขยับมือขึ้นลงที่ข้อศอกแล้วประเมินความตึงของกล้ามเนื้อซึ่งก็คือแรงต้านต่อการที่ผู้ตรวจพยายามเหยียดออกหรืองอปลายแขนเข้านั่นเอง ความตึงน้อยลงถ้ากล้ามเนื้อเป็นอัมพาตจากรอยโรคที่ lower motor neuron นั่นคือ ตัวเซลล์ประสาท รากประสาทหรือประสาทส่วนปลายเสีย หรือในระยะเริ่มแรกของการเกิดอัมพาตจาก upper motor neuron นั่นคือ motor cortex หรือ corticospinal tract เสีย ความตึงของกล้ามเนื้อมากผิดปกติมี 3 ชนิด คือ
1. สภาพกล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity) ซึ่งเป็นผลจากมีรอยโรคที่ corticospinal หรือ pyramidal tract ที่บางครั้งเรียกว่า upper motor neuron เวลาตรวจผู้ป่วยที่มีรอยโรคนี้โดยการเหยียดหรืองอแขนที่ข้อศอกจะรู้สึกว่าแรงต้านไม่เท่ากัน เวลางอแขนเข้าจะรู้สึกทำได้ง่ายในขณะที่เมื่อผู้ตรวจพยายามเหยียดปลายแขนออกจะมีแรงต้านในช่วงแรกแต่ในตอนช่วงหลังจะเหยียดปลายแขนออกได้ง่ายเหมือนง้างมีดพับ จึงเรียกแรงต้านต่อการเหยียดแบบนี้ว่า clasp-knife
2. สภาพกล้ามเนื้อแข็งเกร็งแบบ cogwheel ที่แรงต้านต่อการเหยียดเพิ่มขึ้นสม่ำเสมอขณะที่ผู้ตรวจพยายามงอหรือเหยียดปลายแขน แต่ขณะที่ทำจะรู้สึกว่าสะดุดนิดๆ เหมือนขยับวงล้อกลมที่มีซี่แหลมถี่ๆ รอบวง cogwheel rigidity เป็นสัญญาณโรคที่เกิดจากมีความผิดปกติที่ basal ganglia โดยเฉพาะที่ substantia nigra ความรู้สึกสะดุดๆ นิดๆ ที่กล่าวถึงเป็นผลจากการที่มีอาการสั่น (vibration หรือ tremor) ในกล้ามเนื้อที่ตรวจเป็นสัญญาณโรคที่พบในโรคพาร์กินสันถึงแม้ว่าอาการสั่นนั้นอาจจะมองไม่เห็น
3. สภาพกล้ามเนื้อแข็งเกร็งแบบ plastic หรือ lead-pipe เป็นสัญญาณโรคที่พบในโรคที่เกิดที่ basal ganglia
คล้ายกับ (2) แต่ไม่มีอาการสั่น ความรู้สึกที่ผู้ตรวจผู้ป่วยที่มีสภาพกล้ามเนื้อแข็งเกร็งแบบนี้จึงเหมือนกับการพยายามงอท่อหรือเส้นลวดที่มีแรงต้านโดยไม่สะดุดเหมือน (2) เพราะไม่มีอาการสั่นร่วมด้วย plastic หรือ lead-pipe rigidity เป็นลักษณะที่พบในกลุ่มอาการ Parkinsonism
คล้ายกับ (2) แต่ไม่มีอาการสั่น ความรู้สึกที่ผู้ตรวจผู้ป่วยที่มีสภาพกล้ามเนื้อแข็งเกร็งแบบนี้จึงเหมือนกับการพยายามงอท่อหรือเส้นลวดที่มีแรงต้านโดยไม่สะดุดเหมือน (2) เพราะไม่มีอาการสั่นร่วมด้วย plastic หรือ lead-pipe rigidity เป็นลักษณะที่พบในกลุ่มอาการ Parkinsonism
กำลังของกล้ามเนื้อ (Muscle Power)
โดยทั่วไปประเมินกำลังของกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ ต้นแขนและปลายแขน กล้ามเนื้อโคนขาโดยเฉพาะ hip flexors กล้ามเนื้องอและเหยียดขาที่เข่า กล้ามเนื้อกระดกเท้าขึ้นหรือถีบเท้าลง ทั้งสองข้างอย่างคร่าวๆ ก็เพียงพอ แต่เมื่อพบว่า
กล้ามเนื้ออ่อนแรงผิดปกติก็ควรบันทึกความผิดปกตินั้นๆ เป็นตัวเลขโดยใช้ UK Medical Research Council Grading ไว้ด้วย โดย 5 ถือว่าปกติ ในขณะที่ 0 หมายถึงกล้ามเนื้อขยับไม่ได้เลย 1 = พอเห็นกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวได้ 2 = มากกว่า 1 แต่ยังยกต้านความถ่วงโลกไม่ได้ 3 = ยกต้านความถ่วงโลกได้ 4 = ดีกว่า 3 แต่ยังไม่สมบูรณ์หรือเป็นปกติหรือ 5
กล้ามเนื้ออ่อนแรงผิดปกติก็ควรบันทึกความผิดปกตินั้นๆ เป็นตัวเลขโดยใช้ UK Medical Research Council Grading ไว้ด้วย โดย 5 ถือว่าปกติ ในขณะที่ 0 หมายถึงกล้ามเนื้อขยับไม่ได้เลย 1 = พอเห็นกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวได้ 2 = มากกว่า 1 แต่ยังยกต้านความถ่วงโลกไม่ได้ 3 = ยกต้านความถ่วงโลกได้ 4 = ดีกว่า 3 แต่ยังไม่สมบูรณ์หรือเป็นปกติหรือ 5
Co-ordination
การทดสอบการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อ 2 กลุ่มเป็นการทดสอบหน้าที่ของสมองน้อย (cerebellum) ได้แก่ การทดสอบนิ้วไปแตะจมูกเป็นการตรวจการประสานงานของกล้ามเนื้อแขนที่งอเข้าและเหยียดออกที่ข้อศอกพร้อมกับการหันนิ้วเข้าและออกเมื่อผู้ป่วยเคลื่อนย้ายนิ้วที่แตะอยู่ที่มือแพทย์ไปแตะจมูกตนเอง ส่วนการตรวจขาในท่าผู้ป่วยนอนโดยยกขาข้างที่จะตรวจขึ้นแล้วงอขาเอาส้นเท้าลงไปแตะที่เข่าของขาอีกข้างและลากส้นเท้าลงไปตามสันหน้าแข้งของขานั้น ความผิดปกติจะสังเกตได้จากการที่การเคลื่อนไหวของแขนหรือขาที่ตรวจไม่ราบเรียบแต่สะเปะสะปะ
Deep Reflexes
การตรวจรีเฟล็กซ์เอ็นลึกที่แขนและขาเป็นการตรวจการทำงานของประสาทรับความรู้สึกกับประสาทสั่งการเป็นวงที่ระดับต่างๆ ของประสาทไขสันหลัง นอกจากนี้ยังบ่งบอกถึงการทำงานของประสาทสั่งการที่อยู่เหนือขึ้นไปด้วย
เวลาแพทย์ตรวจ ขอแนะนำให้ตรวจระดับประสาทไขสันหลังเดียวกันสลับซ้าย-ขวา หรือขวา-ซ้าย โดยเริ่มที่ข้างที่คิดว่าปกติก่อนเพื่อเป็นการเปรียบเทียบและควรไล่ระดับจากบนลงล่าง และบันทึกดังตารางดังนี้
Jerks (J) Right (R) Left (L) ระดับในประสาทไขสันหลัง
Supinator (SJ) + - (ผิดปกติ) C 5-6
Supinator (SJ) + - (ผิดปกติ) C 5-6
Biceps (BJ) + + (ปกติ) C 5-6
Triceps (TJ) ++ ++ (ไวแต่ยังปกติ) C 7 C = cervical
Knee (KJ) +++ +++ (ไวผิดปกติ) L 3-4 L = lumbar
Ankle (AJ) ++++ ++++ (ไวผิดปกติมาก) S 1 S = sacral
การที่รีเฟล็กซ์เอ็นลึกไวผิดปกติบ่งบอกถึงความผิดปกติหรือมีรอยโรคที่ประสาทสั่งการที่อยู่เหนือ ขึ้นไป (upper motor neuron lesion) ถ้ารีเฟล็กซ์ที่กล่าวน้อยลงหรือหายไปหมายถึง ประสาทรับความรู้สึกประสาทสั่งการหรือวงรีเฟล็กซ์ในระดับนั้นผิดปกติ
Superficial Reflexes
รีเฟล็กซ์ที่ผิวตรวจโดยใช้ปลายไม้หรือไม้จิ้มฟันข้างทู่เขี่ยหน้าท้องข้างซ้ายและขวา จากล่างขึ้นบน และสังเกตดูการ
หดตัวของกล้ามเนื้อหน้าท้อง คนปกติที่หน้าท้องไม่หย่อนจะมีรีเฟล็กซ์นี้ ในขณะที่คนที่มีรอยโรคที่ประสาทสั่งการที่เหนือ
ขึ้นไปจะไม่มีรีเฟล็กซ์นี้ เช่นเดียวกับ cremasteric reflex ในผู้ชายที่เห็นได้จากการเขี่ยที่ผิวหนังโคนขาด้านในและมีการหดตัวของลูกอัณฑะด้านเดียวกัน ถ้ารีเฟล็กซ์หายไปก็มีความหมายเหมือนกับรีเฟล็กซ์ที่ผิวหน้าท้องหายไป
หดตัวของกล้ามเนื้อหน้าท้อง คนปกติที่หน้าท้องไม่หย่อนจะมีรีเฟล็กซ์นี้ ในขณะที่คนที่มีรอยโรคที่ประสาทสั่งการที่เหนือ
ขึ้นไปจะไม่มีรีเฟล็กซ์นี้ เช่นเดียวกับ cremasteric reflex ในผู้ชายที่เห็นได้จากการเขี่ยที่ผิวหนังโคนขาด้านในและมีการหดตัวของลูกอัณฑะด้านเดียวกัน ถ้ารีเฟล็กซ์หายไปก็มีความหมายเหมือนกับรีเฟล็กซ์ที่ผิวหน้าท้องหายไป
Extensor Plantar Reflexes (Babinski sign)
นายแพทย์โจเซฟ บาบินสกี้ เป็นประสาทแพทย์ผู้ยิ่งใหญ่ผู้หนึ่ง เป็นชาวฝรั่งเศส ทำเวชปฏิบัติอยู่ที่นครปารีส มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1857-1932 เป็นผู้ค้นพบการตรวจโดยใช้ของปลายแหลม (ปัจจุบัน แพทย์ไทยนิยมใช้ไม้จิ้มฟัน) ขีดที่ฝ่าเท้าด้านนอกจากส้นเท้าไปทางปลายนิ้วเท้าแล้วขีดวกเข้าไปทางพื้นนิ้วหัวแม่เท้า ในคนปกติหัวแม่เท้าข้างนั้นจะงอลงแต่ถ้างอขึ้นแล้วจึงลง บอกถึงการมีรอยโรคที่ corticospinal (หรือ pyramidal tract) หรือที่เรียกกันว่า upper motor neuron
ประสาทรับความรู้สึก (Sensory system)
ประสาทรับความรู้สึกแบ่งได้เป็นส่วนลึกและส่วนตื้น
ส่วนลึก คือ ความรู้สึกในข้อ เช่น ข้อนิ้วเท้าและนิ้วมือ โดยแพทย์ให้ผู้ป่วยหลับตาและใช้มือข้างหนึ่งจับกระดูกที่อยู่เหนือข้อที่ตรวจไว้ให้อยู่นิ่ง ในขณะที่ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับข้างกระดูกส่วนปลายทั้งสองข้างไว้แล้วขยับขึ้น-ลง แต่ละครั้งให้
ผู้ป่วยบอกแล้วบันทึกถูก-ผิดไว้ โดยถ้าประสาทรับความรู้สึกเสียผู้ป่วยควรจะบอกไม่ได้หรือผิดเกินครึ่งของจำนวนครั้งที่ตรวจ นอกจากนี้ก็ใช้ส้อมเสียงที่มีความถี่ 128 ครั้งต่อวินาทีทดสอบโดยวางลงที่ข้อ โดยทั่วๆ ไปการตรวจนี้เหมือนกับการตรวจตำแหน่งข้อดังกล่าวมาแล้วแต่ในบางโรค เช่น โรคมัลติเปิ้ลสเคลอโรสิส (multiple sclerosis) ที่มีรอยโรคที่ dorsal (หรือ posterior) column อาจตรวจความรู้สึกในข้อแทบจะไม่พบผิดปกติเลยแต่ตรวจความสั่นของส้อมเสียงอาจจะเสียมากจนถึงโขนขาหรือสะโพกจึงพอรับรู้บ้าง
ผู้ป่วยบอกแล้วบันทึกถูก-ผิดไว้ โดยถ้าประสาทรับความรู้สึกเสียผู้ป่วยควรจะบอกไม่ได้หรือผิดเกินครึ่งของจำนวนครั้งที่ตรวจ นอกจากนี้ก็ใช้ส้อมเสียงที่มีความถี่ 128 ครั้งต่อวินาทีทดสอบโดยวางลงที่ข้อ โดยทั่วๆ ไปการตรวจนี้เหมือนกับการตรวจตำแหน่งข้อดังกล่าวมาแล้วแต่ในบางโรค เช่น โรคมัลติเปิ้ลสเคลอโรสิส (multiple sclerosis) ที่มีรอยโรคที่ dorsal (หรือ posterior) column อาจตรวจความรู้สึกในข้อแทบจะไม่พบผิดปกติเลยแต่ตรวจความสั่นของส้อมเสียงอาจจะเสียมากจนถึงโขนขาหรือสะโพกจึงพอรับรู้บ้าง
ความรู้สึกส่วนตื้นตรวจโดยใช้ไม้จิ้มฟันปลายแหลมตรวจโดยเทียบข้างซ้ายกับขวา และตรวจจากปลายขาขึ้นบนและที่ลำตัวจากล่างขึ้นบนเพราะหาระดับความผิดปกติดังที่พบในผู้มีรอยโรคที่ประสาท ไขสันหลัง แพทย์ผู้ตรวจจึงควรคิดก่อนตรวจว่าจะมองหาความรู้สึกผิดปกติจากรอยโรคที่ประสาทส่วนปลาย รากประสาทหรือประสาทไขสันหลังแล้วจึงลงมือตรวจ การตรวจโดยการสัมผัสด้วยสำลีบางๆ อาจช่วยยืนยันว่าความรู้สึกรับรู้ที่ผิวหนังผิดปกติจากการตรวจด้วยไม้จิ้มฟันปลายแหลมแล้ว ส่วนการตรวจด้วยหลอดทดลองใส่น้ำร้อนน้ำเย็นมักใช้เฉพาะในกรณีที่พิเศษ เช่น สงสัยว่าจะมี syringomyelia หรือ เนื้องอกในประสาทไขสันหลัง เป็นต้น
ความสามารถจำแนกจุดสัมผัสสองจุดได้ (Two-Point Discrimination)
ตรวจโดยใช้ discriminator forceps วางที่นิ้วมือและนิ้วเท้า โดยในคนปกติที่นิ้วมือจะบอกปลายแหลม 2 ปลายห่างกันเพียงครึ่งเซนติเมตรได้ถูกต้องส่วนที่เท้าบอกได้ห่างกันแค่สองเซนติเมตร เป็นการประเมินผลประสาทรับความรู้สึกไปจนถึง sensory cortex ในสมอง
ท่ายืน (Stance)
ให้ผู้ป่วยยืนเพื่อดูการทรงตัว ถ้าเป็นปกติยืนตรงเท้าชิดกันลำตัวจะไม่โงนเงนและไม่ล้ม
ท่าเดิน (Gait)
การสังเกตดูท่าเดินของผู้ป่วยอาจช่วยให้การวินิจฉัยโรคได้ทันที เช่น ผู้ป่วยด้วยโรคพาร์กินสันจะเริ่มออกเดินช้า
ก้าวสั้นๆ และแขนไม่แกว่ง เป็นต้น
ก้าวสั้นๆ และแขนไม่แกว่ง เป็นต้น
การทดสอบรอมเบิร์ก (Romberg's test)
เป็นการตรวจเพื่อดูว่าความรู้สึกในข้อต่างๆ ในขาทั้งสองโดยเฉพาะที่เท้า (joint position sense) ว่าปกติหรือไม่
โดยให้ผู้ป่วยยืนขาทั้งสองข้างชิดกัน ผู้ตรวจบอกผู้ป่วยให้หลับตาโดยไม่ต้องกลัวว่าจะล้มลงเพราะผู้ตรวจจะคอยยืนอยู่ข้างๆ ไม่ให้ล้ม ถ้าผู้ป่วยยืนได้เป็นปกติเกือบเหมือนเวลายืนลืมตาการทดสอบให้ผลปกติหรือลบ แต่ถ้าผู้ป่วยเซและจะล้มลงเห็นได้ชัดก็หมายถึง การทดสอบให้ผลบวกโดยความรู้สึกที่ข้อขาทั้งสองข้างเสียหมายถึงการมีรอยโรคที่ dorsal (หรือ posterior) column ในประสาทไขสันหลัง เช่น ที่พบในโรค Tabes dorsalis หรือในโรคขาดวิตามินบี 12 หรือที่ประสาทรับความรู้สึกส่วนปลายขนาดโต (หรือ A-fibres) เช่นในโรค polyneuropathy
โดยให้ผู้ป่วยยืนขาทั้งสองข้างชิดกัน ผู้ตรวจบอกผู้ป่วยให้หลับตาโดยไม่ต้องกลัวว่าจะล้มลงเพราะผู้ตรวจจะคอยยืนอยู่ข้างๆ ไม่ให้ล้ม ถ้าผู้ป่วยยืนได้เป็นปกติเกือบเหมือนเวลายืนลืมตาการทดสอบให้ผลปกติหรือลบ แต่ถ้าผู้ป่วยเซและจะล้มลงเห็นได้ชัดก็หมายถึง การทดสอบให้ผลบวกโดยความรู้สึกที่ข้อขาทั้งสองข้างเสียหมายถึงการมีรอยโรคที่ dorsal (หรือ posterior) column ในประสาทไขสันหลัง เช่น ที่พบในโรค Tabes dorsalis หรือในโรคขาดวิตามินบี 12 หรือที่ประสาทรับความรู้สึกส่วนปลายขนาดโต (หรือ A-fibres) เช่นในโรค polyneuropathy
หนังสือที่แนะนำ
• Bickerstaff ER. Neurological Examination in Clinical Practice. Second Edition. Blackwell Scientific
Publications. Oxford; 1968.
Publications. Oxford; 1968.
• คณะทำงาน (นิพนธ์ พวงวรินทร์ ประธาน). Train the brain forum (Thailand). Thai Minimental state
examination. สารศิริราช ๒๕๓๖; ๔๕:๓๕๙-๗๔.
examination. สารศิริราช ๒๕๓๖; ๔๕:๓๕๙-๗๔.
• สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แบบทดสอบสภาพสมองเสื่อมเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย
(MMSE-Thai 2002).
(MMSE-Thai 2002).
• Hawkes CH. Smell and Taste Complaints. BH. Elsevier Science USA; 2002.
• Fuller G. Neurological Examination Made Easy. Second Edition. Churchill Livingstone. Edinburgh; 1999.
• Donaghy M. Neurology. Oxford Medical Publications. Oxford University Press; 1997.
[ back ]