Japanese Encephalitis (JE)
มีรายงานโรคสมองอักเสบระบาดที่ญี่ปุ่นในฤดูร้อนเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ ค.ศ. 1870 ต่อมาใช้
ตัวอักษร ‘B’ เพิ่มเพื่อแยกจากโรคสมองอักเสบ A หรือโรค von Economo ที่ทำให้ผู้ป่วยมีไข้สูง ซึมง่วงหลับที่
ระบาดอยู่ก่อน แต่เป็นโรคที่ไม่เคยหาสาเหตุได้ ในปี ค.ศ. 1935 มีผู้พบเชื้อไวรัสในสมองผู้ป่วยที่ตายจากโรค B
ว่าเป็นไวรัสเหลือง (flavivirus) สายพันธุ์นะกะยะมะ (Nakayama strain) ผลที่สุดไม่นานจึงเรียกโรคสมองอักเสบ
ญี่ปุ่น JE โดยเลิกอักษร B !
ในประเทศไทยมีรายงานโรคนี้เมื่อ 60 ปีมาแล้ว ผู้ป่วยส่วนมากเป็นเด็กในภาคเหนือจึงเป็นที่สนใจ
ของกุมารแพทย์และอายุรแพทย์ทางประสาทวิทยา เช่น อาจารย์แพทย์หญิงบุญสม ผลประเสริฐ และศาสตราจารย์
แพทย์หญิงรังสี (บุนนาค) พรพิบูลย์ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่รายงานในวารสารไทย
ต่อมาเริ่มพบผู้ป่วยในภาคกลาง ผู้เขียนยังจำได้ดีว่าเมื่อคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีเปิดทำการ
เมื่อปี ค.ศ. 1969 มีผู้ป่วยหญิงอายุประมาณ 30 ปีมีอาการไข้สมองอักเสบจากโรคนี้ขณะตั้งครรภ์หลังจาก
ไปค้างแรมที่จังหวัดเพชรบุรี ต้องดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลอยู่หลายเดือน ผู้ป่วยหายเป็นปกติ ลูกที่คลอดก็ปกติ
ต่อมาก็มีผู้ป่วยที่มาจากจังหวัดใกล้เคียง เช่น นครปฐม ปทุมธานี ที่นิยมเลี้ยงหมูซึ่งเป็นรังโรค มียุงรำคาญ (Culex)
ที่เพาะตัวในน้ำนิ่งในนาข้าวเป็นตัวนำเชื้อ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ได้รับเชื้อบางรายไม่มีอาการอะไร พวกที่มีอาการ
มักเหมือนเป็นไข้หวัด ส่วนน้อยที่เชื้อไวรัสเข้าระบบประสาททำให้มีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เนื้อสมองอักเสบ
ต่อมาการศึกษาที่เวียดนามนำโดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ทอม โซโลมอน (Tom Solomon) จากมหาวิทยาลัย
ลิเวอร์พูล สหราชอาณาจักร พบผู้ป่วยเด็กมีอาการอัมพาตแขนขาอ่อนแรงคล้ายโปลิโอซึ่งมีอัตราตายสูง
อาจารย์และแพทย์ประจำบ้านที่หน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ก็ได้ศึกษาและรายงานผู้ป่วย 1 รายที่มีกลุ่มอาการที่กล่าวไว้อย่างละเอียด การวินิจฉัยโรคโดยใช้วิธีอาศัยการดู
การเปลี่ยนสีด้วยตาเปล่าซึ่งทำได้ง่าย ถูกและรวดเร็ว แทนวิธีการใช้เครื่องมือที่ราคาแพง อาศัยเทคนิคที่ซับซ้อน
ใช้เวลานานเมื่อ 25 ปีก่อน นับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วย การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการสมองอักเสบ
แล้วนอกจากรักษาอาการชักและรักษาความดันในกะโหลกศีรษะสูงซึ่งคอร์ติโคสเตียรอยด์ไม่ได้ผล ยังไม่ใช่ยารักษา
ไวรัสโดยตรง การใช้ interferon a ซึ่งศาสตราจารย์นายแพทย์จำลอง หะริณสุต และคณะเคยทดลองใช้ใน
ผู้ป่วย 2 ราย ควรได้รับการทดลองในผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นโดยใช้ recombinant interferon ถึงแม้คนจะได้รับ
เชื้อจากยุงแต่เชื้ออยู่ในเลือดคนเป็นช่วงระยะเวลาสั้นมากจึงไม่สามารถเป็นแหล่งแพร่กระจายให้ยุง แต่นกที่เข้ามา
อยู่ในวงจรของโรคนี้ด้วยกับสัตว์เลี้ยงเช่นสุกรที่เป็นรังโรคทำให้การขจัดโรคเป็นไปไม่ได้ การศึกษาวิจัยจึงได้มุ่ง
ไปที่วัคซีนป้องกัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 ที่มีโครงการวิจัยทางการแพทย์ตามสนธิสัญญาเอเซียอาคเนย์แพทย์และ
นักวิจัยไทยร่วมกับแพทย์และนักวิจัยอเมริกันที่มีศูนย์อยู่ที่กรุงเทพมหานครได้มีบทบาทอย่างมากในเรื่องนี้
แพทย์และนักวิจัยไทยที่ใช้เวลาเฉพาะเรื่องนี้มาตลอด ได้แก่ แพทย์หญิงอนันต์ นิสาลักษณ์ แม้กระทั่งศาสตราจารย์
นายแพทย์ริชาร์ด จอห์นสัน (Richard T Johnson, ค.ศ. 1931-2015) จากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์
สหรัฐอเมริกา ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าเป็นผู้บุกเบิกประสาทไวรัสวิทยาเป็นคนแรก ได้เป็นศาสตราจารย์
อาคันตุกะทางประสาทวิทยาที่หน่วยประสาทวิทยา รามาธิบดี ถึง 6 เดือน (กุมภาพันธ์-กรกฎาคม ค.ศ. 1984)
ได้เข้ามาร่วมวิจัยเรื่องวัคซีน JE ด้วย เป็นผู้ที่ได้พบและพาศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
ไปศึกษาต่อและร่วมงานกันที่ฮอปกินส์จนอาจารย์ ธีระวัฒน์เป็นประสาทแพทย์ที่เชี่ยวชาญทางไวรัสวิทยาระดับ
แนวหน้า ปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรค JE SA 14-14-2 ที่ผลิตจากจีน มีประสิทธิภาพสูง ราคาถูก เด็กและผู้ใหญ่
ทั้งไทยและชาวต่างประเทศที่เสี่ยงต่อโรคควรได้รับการฉีดวัคซีนกันถ้วนหน้า
โรคติดเชื้อไวรัสที่ระบบประสาทชนิดต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอาการทันที เกิดเร็วหรือเกิดช้าขึ้นอยู่กับ
หลายเหตุปัจจัย ได้แก่ เรื่องพันธุกรรมของผู้ได้รับเชื้อ การมีการแสดงฤทธิ์ต่อกันโดยเฉพาะกับระบบภูมิคุ้มกัน
ของผู้นั้น วิสัยสามารถที่ไวรัสกระจายไปยังตำแหน่งที่มีเอกสิทธิ์ทางภูมิคุ้มกันเช่นสมอง และวิธีการที่เชื้อ
แพร่กระจายจากเซลล์หนึ่งไปอีกเซลล์หนึ่งในระบบประสาทส่วนกลาง การแสดงฤทธิ์ต่อกันเช่นที่ว่านั้นเป็น
ตัวกำหนดการแพร่กระจายและความรุนแรงของโรค การเข้าใจบทบาทเหล่านั้นจะทำให้รักษาและป้องกันโรค
ได้ดีกว่าและมีความสำคัญมากในกรณีที่โรคไวรัสนั้นมาจากสัตว์สู่คน
แนะนำเอกสาร
1) Johnson RT. (1998). Viral infections of the nervous system. Second edition.
Philadelphia: Lippincott-Raven. pp. 525.
2) Solomon T, Dung NM, Kneen R, et al. (2000). Japanese encephalitis. J Neurol Neurosurg
Psychiatry. 68 : 405-415.
3) Grossman RA, Edelman R, Chiewanich P, et al. ( 1973). Study of Japanese encephalitis virus
in Chiang Mai Valley, Thailand. II. Human clinical infections. Am J Epidemiol. 98 : 121-132.
4) Edelman R, Schneider RJ, Vejjajiva A, et al. (1976). Persistence of virus-specific IgM and
clinical recovery after Japanese encephalitis. Am J Trop Med Hyg. 25 : 733-738.
5) Phoncharoensri D, Witoonpanich R, Tunlayadechanont S, Laothamatas J. (2004).
Confusion and paraparesis. Case Report. Lancet. 363 : 1954.
6) Hoke CH, Nisalak A, Sangawhipa N, et al. (1988). Protection against Japanese encephalitis
by inactivated vaccines. N Engl J Med. 319 : 608-614.
7) Solomon T, Thao LTT, Dung NM, et al. (1998). Rapid diagnosis of Japanese encephalitis by
using an IgM dot enzyme immunoassay. J Clin Micro. 36 : 2030-2034.
8) Bista MB, Banerjee MK, Shin SH, et al. (2001). Efficacy of single dose SA-14-14-2 vaccine
against Japanese encephalitis: a case control study. Lancet. 358 : 791-795.
9) Harinasuta C, Wasi C, Vithanomsat S. (1984). The effect of interferon on Japanese encephalitis
virus in vitro. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 15 : 564-568.
10) Harinasuta C, Nimmanitya S, Titsyakorn U. (1985). The effect of interferon a on two cases
of Japanese encephalitis in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 16 : 332-336.
11) Solomon T, Vaughn DW. (2002). Pathogenesis and clinical features of Japanese encephalitis
and West Nile Virus infections. Curr Top Microbiol Immunol. 267 : 171-194.
12) Ludlow M, Kortekaas J, Herden C, et al. (2016). Neurotropic virus infections as the cause
of immediate and delayed neuropathology. Acta Neuropathologica. 131 : 159-184.