L (ชุดที่ 1) - Laughter

         การหัวเราะ

              "หัวเราะเถอะ แล้วโลกจะหัวเราะด้วยกับเรา"

คำกล่าวข้างต้นคนส่วนใหญ่คงจะเห็นด้วยเพราะผู้ที่มีอารมณ์สนุกสนาน มีความสุข มักจะเป็นเช่นนั้น
แต่ที่จะพูดถึงเป็นความผิดปกติของการหัวเราะ

คนที่เป็นโรคลมชักชนิดที่หัวเราะแล้วหมดสติชักเกร็ง (gelastic epilepsy) เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ในที่นี้
จะไม่กล่าวรวมไว้ในที่นี้ที่ผู้ป่วยรู้สึกตัวดีทุกประการแต่กลั้นหัวเราะไม่ได้ โดยที่ไม่ได้มีอารมณ์ขันเหมือนอารมณ์ล้น (emotional overflow or incontinence) ซึ่งเป็นอาการที่พบในผู้ป่วยที่มีรอยโรคที่ก้านสมองเหนือประสาทสั่งการกล้ามเนื้อหน้าและลำคอทั้งสองข้างที่บางครั้งเรียก pseudo-bulbar palsy (bilateral cortico-bulbar tract lesion) พบได้ในผู้ป่วยหลอดเลือดแดงสมองพิการหรือผลจากภยันตรายที่ศีรษะหรือจากเนื้องอก   มีรายงานประปรายที่"หัวเราะล้น" จาก posterior fossa tumour แม้กระทั่งเนื้องอก schwannoma ที่ cerebello-pontine angle

อาการหัวเราะล้นจากสมองเสื่อมหรือจากหลอดเลือดแดงสมองพิการอาจหยุดได้หรือลดลงจาก
ยาต้านความเศร้า เช่น nortryptiline, fluoxetine หรือยา selective serotonin reuptake inhibitor ตัวอื่นๆ  นอกจากนี้ยังมีรายงานอาการหัวเราะล้นจากการกระตุ้นเซลล์สมองโดยตรง (Direct Brain Stimulation หรือ DBS) ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันหรือผู้ที่มีอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (movement disorders)

แพทย์ผู้สนใจเรื่องหัวเราะล้นนี้ต้องอย่าลืมอ่านบทความอันเป็นอมตะของ Dr. Redvers Ironside 
ประสาทแพทย์ชาวอังกฤษซึ่งเป็นครูของผู้เขียนเมื่อเกือบ 60 ปีมาแล้ว

เอกสารอ้างอิง
1.  Ironside R.  Disorders of Laughter due to Brain Lesions.  Brain  1956; 79: 589-609.

2.  Virani MJ, Jain S.  Trigeminal Schwannoma associated with Pathological Laughter  
     and Crying.  Neurol India  2001; 49: 162-65.

3.  Krack P, Kumar R, Ardouin C, et al.  Mirthful Laughter induced by Subthalamic 
    Nucleus Stimulation.  Mov Disord  2001; 16: 867-75.


ป.ล.  มี "ศาสตร์" ใหม่เรียก gelotology หรือวิทยาการหัวเราะ (สรวลวิทยา!) ซึ่งผู้อ่านอาจหาดูได้จาก "google"

 

[ back ]